สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน.....คงปฏิเสธไม่ได้นะครับว่า....การกระทำทุกอย่างบนโลกนี้ของมนุษย์นั้น เป็นผลมาจากความคิด..และการสั่งการของสมองทั้งสิ้น สมองของเราเป็นส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การกิน การเดิน การนั่ง การมองเห็น การรับรู้ ซึ่งจะมีกลไก การทำงานที่่่่ที่ซับซ้อนเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าสมองมนุษย์ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ ที่ไม่มีอะไรจะมาเสมอเหมือนได้
นักวิทยาศาสตร์ หลายคน จึงได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่องการทำงานของสมอง พบว่า สมองของคนเรานั้น จะปล่อยคลื่่นพลังงานออกมา อยู่ 4 ชนิด ด้วยกัน ซึ่งแต่ละคลื่นจะส่งผลให้สมองทำงานในลักษณะที่ต่างกัน ดังนี้ครับ
1. คลื่น เบต้า (Beta) มีคลื่นความถี่ตั้งแต่ 13 ถึง 25 รอบต่อวินาที
คลื่นเบต้าจะเกิดขึ้น ในขณะที่ สมองกำลังอยู่ในภาวะการทำงานและควบคุมจิตใต้สำนึก เช่น กำลังทำงาน,การพูดและทำกิจกรรมต่างๆ การใช้ชีวิตแบบปกติทั่วไป เป็นต้น
2. คลื่น อัลฟา (Alpha) มีคลื่นความถี่ตั้งแต่ 8 ถึง 12 รอบต่อวินาที
คลื่นอัลฟาจะเกิดขึ้น ในขณะที่ สมองอยู่ในช่วงพักผ่อนหรือกำลังทำสมาธิ ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว สมองจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากหากเกิดของคลื่นนี้ขึั้น
3. คลื่นธีต้า (Theta) มีคลื่นความถี่ตั้งแต่ 4 ถึง 11 รอบต่อวินาที
คลื่นเธต้าจะเกิดขั้น ในขณะที่ สมองอยู่ในช่วงของการเข้าสมาธิแบบลึก ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการเห็นภาพต่างๆ เช่น การเข้าฌาน ของผู้ที่ฝึกสมาธิขั้นสูง
4. คลื่น เดลต้า (Delta) มีคลื่นความถี่ตั้งแต่ 0.5 ถึง 3 รอบต่อวินาที
จะเกิดขึ้น ตอนที่สมองหลับอย่างเต็มที่ โดยไม่มีความฝันใดๆ หรือเป็นช่วงที่พักผ่อนอย่างเต็มที่
การหลับสนิท
สมาธิ คืออะไร? ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง เหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้
ในพระอภิธรรมปิฎก สมาธิ จะหมายถึง ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดี่ยว อย่างแน่วแน่ การปฏิบัติ สมาธิ ตามแนวทางของพระพุทธศาสนานั้น เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" คือ การทำจิตใจให้สงบ ละจากความยั่วยุทั้งปวง คือ กามคุณทั้ง 5 รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ตั้งมั่นอยู่กับจิตร เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะมีด้วยกันอยู่ 3 ระดับ
- 1.ขณิกสมาธิ สมาธิค่อยๆ เล็กน้อย ที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ
- 2.อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่าอัปปนาสมาธิ
- 3.อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป
แต่ละระดับ ก็จะมีการฝึกฝนที่แตกต่างกันไป องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแบ่งนิสัยคน อยู่ 6 กลุ่มด้วยกันเรียกว่า จริต 6 ประการ เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละคน ท่านได้ทรงกำหนดวิธีการฝึก เรียกว่า สมถกรรมฐาน จะมีด้วยกันอยู่ 40 วิธี ไว้ให้สำหรับคนแต่ละกลุ่ม รายละเอียดไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ สมถกรรมฐาน
กลุ่ม จริต 6 ประการ จะมีดังนี้
จริต (อ่านว่า จะหริด) จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการ หมายถึง ความประพฤติ คือกิริยาอาการที่แสดงออกมาให้เห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า จริย จริยา หรือ จรรยา โดยทั่วไปจะใช้หมายถึงกิริยาอาการที่ไม่ดี เช่น เสียจริต วิกลจริต ดัดจริต จริตจะก้าน แต่ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติ, พื้นเพ นิสัยใจคอ มี 6 อย่างคือ
- ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามคือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ มักชอบพัฒนาศิลปะให้แก่สังคม
- โทสจริต หนักไปทางเจ้าอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว ชอบจับผิด จึงมองข้อตลกของคนได้ดี จึงมักเป็นคนที่พูดจาได้ตลกและสนุกสนาน เนื่องจากเป็นคนตรงไปตรงมา ปกป้องสังคมจากการเสื่อมได้ดี
- โมหจริต หนักไปทางลุ่มหลง ในทรัพย์สมบัติ นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น ลุ่มหลงในลาภสักการะ ชื่อเสียงเกียรติยศ มักงมงายในบทบาทที่สังคมสมมุติให้ บ้าอำนาจ ถือความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ยึดความเป็นสถาบันสูง
- สัทธาจริต หนักไปทางเชื่อถือจริงใจ น้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา ชอบเพื่อน ชอบร่วมกลุ่ม พวกมากลากไป แคร์สังคม กลัวคนนินทา ชอบช่วยเหลือผู้อ่อนแอ
- พุทธิจริต หนักไปทางใช้ปัญญา เจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี ถือหลักการ อนุรักษนิยม ชอบสั่งสอนคนอื่น
- วิตกจริต หนักไปทางชอบคิดมาก ถ้าขี้ขลาดจะวิตก กังวล ฟู้งซ่านชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คิดอย่างไม่มีเหตุผล เกินจริง ชอบแหกกฎเกณฑ์ ข้อดีคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆต่อสังคม
กรรมฐาน ที่เหมาะกับคนในแต่ละกลุ่มดังนี้
- ราคจริต เหมาะกับ อสุภะ 10 นวสี 9 กายคตานุสสติ
- โทสจริต เหมาะกับ วรรณกสิน 4 พรหมวิหาร 4
- โมหจริต เหมาะกับ อานาปานสติ
- วิตกจริต เหมาะกับ อานาปานสติ กสินทั้ง 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน เตโชกสิน วาโยกสิน อาโลกกสิน อากาสกสิน
- สัทธาจริต เหมาะกับ อนุสสติ 6 คือพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ ศีลานุสสติ เทวตานุสสติ
- พุทธิจริต พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาธาตุ 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ
หลักกรรมฐาน ที่สามารถ ใช้ได้กับทุกคน คือ หลัก "อาณาปานสติ" หรือการกำหนดลมหายใจ จะมีแบบการหายใจทั้งหมดอยู่ 16 คู่ ด้วยกัน ศึกษาเพิ่มเติ่ม กด อาณาปานสติ
แต่สิ่งที่ผมจะมาแนะนำกันในบทความนี้ เป็นหลักการหายใจที่นอกเหนือ จาก 16 ข้อที่กล่าวมา ซึ่งผมคิดขึ้นเองและได้ทดลองปฏิบัติ ได้ผลค่อนข้างดี โดยประยุกต์มาจาก หลักการของ อ.บัณฑิต อึ้งรังษี ถ้าใครจะนำไปลองใช้ ก็ไม่ว่ากันนะครับ ได้ผลอย่างไร ช่วย แนะนำกันมาด้วยละกัน
วิธีการนี้จะเหมาะกับ คนที่ต้องการสมาธิแบบเร่งด่วน รวดเร็ว ทำได้ง่ายๆ
" วิธีการ หายใจ แบบ 4 4 4 " (ให้นับในใจ หลับตาจะได้ผลดี)
1.หายใจเข้า นับ 1, 2, 3, 4
2.กลั้นหายใจ นับ 1, 2, 3, 4
3.หายใจออกนับ 5, 6, 7, 8
ทำวนไปเรื่อยๆจนคิดว่าเรามีสมาธิแล้ว ไม่คิดถึงเรื่องอื่น ก็หยุดได้ มันเป็นการเรียกสมาธิแบบง่ายๆ แล้วได้ผลเร็ว เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสมาธิแบบเร่งด่วน
***จิตที่เป็นสมาธิ จะทำอะไรก็ย่อมจะบรรลุเป้าหมายได้ง่าย หากเราหมั่นฝึกฝนและจัดระเบียบความคิด บ่อยๆ ชีวิตและการทำงานของเรา ก็จะก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ ได้ สมองเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับมนุษย์ พระเจ้าได้มอบมันมาให้เราทุกคน อยู่ที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้มากแค่ไหน เท่านั้นเอง***
#-ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org
#-ขอบคุณที่ติดตาม
#Pairoj13