เคยสงสัยกันใหมครับว่า เวลาเรานึกถึงประเทศใดประเทศหนึ่ง เราจะต้องนึกถึงสัญลักษณ์ หรือสิ่งของที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับประเทศนั้น ยกตัวอย่างประเทศไทย ของเราเมื่อฝรั่งหรือชาวต่างชาติเขานึกถึงจะนึกถึงอะไร ก็คงจะเป็น รอยยิ้ม แล้วก็อาหารที่ขึ้นชื่อของเราก็คือ ต้มยำกุ้ง ,เทศกาลสาดน้ำ (รวมถึงการประท้วงและการเมืองที่มันยังไม่นิ่งเสียที่ ) แต่ถ้าเรานึกถึงประเทศที่เขาผลิตนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาที่ผมตั้งหัวเรื่องไว้ ก็คงจะไม่มีประเทศไหนมีชื่อเสียงเท่ากับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ทั้งๆที่ก็มีหลาย ประุเทศที่ผลิตนาฬิกาคุณภาพออกมา อย่างเช่น สหรัฐ , ญีปุ่น, อังกฤษ หรือ เยอรมัน แล้วทำไมประเทศเหล่านี้ถึงไม่เป็นที่จดจำ เพื่อคล้ายความสงสัยเราก็ต้องไปหาคำตอบกัน ว่าทำไม
ประเทศสวิส ถึงมีชื่อเสียงในการผลิตนาฬิกา
แรกเริ่มของนาฬิกา นาฬิกานั้นมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก เริ่มตั้งแต่ในยุคโบราณ สมัย 3500 ปีก่อน ถ้านับถึงปัจจุยัน ก็คงจะ สามพันห้าร้อยกว่าปีได้ มนุษย์เรารู้จักใช้ธรรมชาติเป็นเครื่องบอกเวลา คือใช้แสงจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้น ต่อมาในยุคสมัยของกรีกโบราณ ได้ใช้นาฬิการที่ใช้น้ำเป็นตัวบอกเวลา ซึ่งมีความแม่นยำในระดับนึ่ง เรียกว่า clepsydra ( คำนี้เป็นคำสนธิที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า clep ซึ่งแปลว่า ขโมย และคำ sydra ที่แปลว่า น้ำ ) เพราะนาฬิกานี้ทำงานโดยอาศัยหลักที่ว่า " ภาชนะดินเผาที่มีน้ำบรรจุเต็มเวลาถูกเจาะที่ก้นน้ำจะไหลออกจากภาชนะทีละน้อยๆ เหมือนการขโมยน้ำ " ดังนั้นชาวกรีกโบราณจึงได้กำหนดระยะเวลาที่น้ำไหลออกจนหมดภาชนะว่า 1clepsydra แต่นาฬิกาน้ำนี้ต้องมีการเติมน้ำใหม่ทุกครั้งที่หมดเวลา 1 clepsydra และในฤดูหนาวน้ำจะแข็งตัวทำให้ไม่สามารถใช้นาฬิกาได้ จึงมีการประดิษฐ์นาฬิการทรายขึ้นมา
ใน ค.ศ. 1364 Giovanni de Dondi เป็นคนแรกที่สร้าง นาฬิกาแบบมีเข็มบอกเวลาเป็นชั่วโมง แต่นาฬิกาของเขามีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีลูกศรบอกตำแหน่งของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงด้วย
Peter Henlein ช่างทำกุญแจชาวเยอรมันเป็นผู้สร้าง นาฬิกาเรือนแรกของโลก ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1500 แต่นาฬิกายังคงมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไม่ต่างจากเดิมเท่าใดนัก
ต่อมาในปี ค.ศ. 1500 Peter Henlein ได้สร้าง นาฬิกาที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา คือ หนักเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น และในปี ค.ศ. 1641 กาลิเลโอ ได้สังเกตการแกว่งของตะเกียง เขาพบว่าการแกว่งครบรอบของตะเกียงแต่ละครั้งใช้เวลาเท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะแกว่งมากหรือน้อยเพียงใด กาลิเลโอ จึงมอบหมายให้บุตรชายชื่อ Vincenzio Galilei สร้างนาฬิกาโดยใช้การแกว่งของลูกตุ้มเป็นเครื่องควบคุมเวลา เรียกว่า นาฬิกาเพนดูลัม ( Pendulum ) ซึ่งสามารถเดินได้อย่างเที่ยงตรงพอควร
ต่อมาในปี ค.ศ. 1500 Peter Henlein ได้สร้าง นาฬิกาที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา คือ หนักเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น และในปี ค.ศ. 1641 กาลิเลโอ ได้สังเกตการแกว่งของตะเกียง เขาพบว่าการแกว่งครบรอบของตะเกียงแต่ละครั้งใช้เวลาเท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะแกว่งมากหรือน้อยเพียงใด กาลิเลโอ จึงมอบหมายให้บุตรชายชื่อ Vincenzio Galilei สร้างนาฬิกาโดยใช้การแกว่งของลูกตุ้มเป็นเครื่องควบคุมเวลา เรียกว่า นาฬิกาเพนดูลัม ( Pendulum ) ซึ่งสามารถเดินได้อย่างเที่ยงตรงพอควร
ในปี ค.ศ.1657 Christian Huygens นักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ประดิษฐ์นาฬิกาโดยใช้หลักของ Pendulum ควบคุมการทำงานโดยมีส่วนประกอบคือ ล้อ ฟันเฟือง และลวดสปริง นาฬิกาแบบนี้สามารถวัดเวลาได้เที่ยงตรงมากกว่านาฬิกาเพนดูลัม
ในปี ค.ศ.1929 Warren Morrison ได้ประดิษฐ์ นาฬิกาควอตซ์ ขึ้นเฉพาะที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก และในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( chip ) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามี นาฬิกาคอมพิวเตอร์ ใช้กันแล้ว
จากประวัติของการเริ่มประดิษฐ์นาฬิกา จะเห็นได้ว่าไม่มีชาวสวิส เขามาเกี่ยวกับการสร้างนาฬิกาเลย ผุ้ประดิษฐ์นาฬิกา คนแรกก็คือชาวเยอรมัน ในสมัยก่อนนั้นประเทศที่มีคนชั้นสูงปกครองจะนิยมมีเครื่องประดับที่มีราคาแพง นาฬิกา จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของ คนเหล่านี้ แล้วนาฬิกาสวิส เกิดขึ้นอย่างไร ก็เริ่มต้นจากในราวศตวรรษที่ ๑๗ ในเมือง เจนีวา โดยช็อง คาลแว็ง (Jean Calvin) เข้าใจว่าคงเป็นผู้ปกครองในยุคนั้น ได้สั่งห้ามการแสดงออกซึ่งความร่ำรวย และบังคับให้ผู้ผลิตอัญมณีเปลี่ยนจากการทำเครื่องประดับอันล้ำค่าไปหัดทำนาฬิกาแทน เจนีวาจึงมีการผลิตนาฬิกาที่แพร่หลายเป็นอย่างมาก ด้วยเฉพาะในมณฑล นูชาเต็ล (Neuchâtel) ได้มีการส่งช่างฝีมือไปฝึกอบรมในฝรั่งเศส และอังกฤษ ประเทศสวิส จึงมีช่างทำนาฬิกา มากมาย แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้นก็คือ
Abraham-Louis Breguet (1747-1823) เกิดที่นูชาเต็ล ไปอบรมที่แวร์ซายล์ และทำมาหากินในปารีสหลังจากไปอยู่ลอนดอนนานหลายปี เบรเกะต์นี้ถือว่า เป็นผู้ประดิษฐ์นาฬิกาที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคการผลิตนาฬิกา ในยุคแรกของสวิส ได้ลอกเลียนแบบมาจาก ฝรั่งเศส และ อังกฤษ ถ้าในยุคนี้คงโดนจับในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ และคงไม่มีนาฬิกาสวิสในตอนนี้ แต่ที่แตกต่างจากนาฬิกาของสองประเทศนั้นก็คือสวิสมีเทคนิคและกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพมากกว่า ต่อมาช่างฝีมือทั้งหลายก็หันมาคิดค้นนาฬิกาขึ้นเอง ภายในนาฬิกา แต่ละเรื่อนจะมีชิ้นส่วนอย่างน้อย 200 - 300 ชิ้น บางเรื่อนมีมากถึง 1500 ชิ้น ทำให้นาฬิกา เหล่านี้มีราคาแพง กว่าที่จะผลิดออกมาได้ซักเรือนก็ต้องใช้เวลานาน ในปี คริสศตวรรษที่ 19 สวิสมีการส่งออกนาฬิกา แซงหน้าอังกฤษและฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ.1929 Warren Morrison ได้ประดิษฐ์ นาฬิกาควอตซ์ ขึ้นเฉพาะที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก และในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( chip ) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามี นาฬิกาคอมพิวเตอร์ ใช้กันแล้ว
ระบบของนาฬิกาในปัจจะบัน มีอยู่หลักๆ
ระบบเครื่อง Quartz
เครื่องควอทซ์ เป็นเครื่องนาฬิกาที่แพร่หลายที่สุดในโลก เพราะมีความแม่นยำในการบอกเวลาสูง ด้วยการใช้การแตกตัวของผลึกควอทซ์ ที่มีอัตราใกล้เคียงกับ 1 วินาที ต่อการแตกตัวหนึ่งประจุมาก เมื่อผ่านการปรับแต่ง และใช้วงจรไฟฟ้ามาควบคุมอีกเล็กน้อย ก็ทำให้นาฬิกาที่ใช้เครื่องควอทซ์มีความเที่ยงตรงสูงที่สุดเมื่อเทียบกับนาฬิกาประเภทอื่นๆ นอกจากนั้น เครื่องควอทซ์ มันผลิตเป็น mass ต้นทุนมีราคาถูกมาก เอาตั้งแต่ไม่ถึงสิบบาทจนไปถึงพันบาทเศษๆ ดังนั้นอยากแปลกใจถ้าเราจะเห็นนาฬิกาที่ขายตามตลาดนัดให้เด็กๆ ใส่เล่นกันจะราคาแค่เรือนละ 30 บาท 50 บาท
Kinetic
Kinetic เป็นเครื่องลิขสิทธิ์เฉพาะของ Seiko ลอกเลียนการทำงานของนาฬิกาแบบออโตเมติค โดยใช้แรงเหวี่ยงของ rotor เพื่อไป "ปั่นไฟ" เพื่อสะสมไว้ในเครื่องเก็บประจุ ก่อนคายพลังงานออกมาหล่อเลี้ยงวงจรต่างๆ ตรงนี้ต่างจากนาฬิการะบบ Automatic Winding ตรงที่นาฬิกาออโต หมุน rotor เพื่อ "ขดลาน" ขณะที่แบบ Kinetic หมุน rotor เพื่อ "ปั่นไฟ" ไปเก็บไว้ รายละเดียดนาฬิกาออโต ดูเพิ่มเติมข้างล่างนะครับ
Kinetic นี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากในหมู่นักนิยมนาฬิกา ว่ามันควรจะถือเป็น "นาฬิกา" ในความหมายของนักนิยมนาฬิกาหรือไม่ เพราะมันเป็น "ลูกครึ่ง" จะกลไกก็ไม่ใช่ ไฟฟ้าก็ไม่เชิง แต่ด้วยการออกแบบที่โดดเด่นของ Seiko และราคาที่ถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับนาฬิกาไขลานหรือออโต
นาฬิการะบบไขลาน หรือ Manual Winding Movement
เป็นระบบนาฬิกาที่สะสมพลังงานด้วยการไข "ลาน" หรือขดลวดสปริง แล้วลวดสปริงนั้นจะค่อยๆ คลายตัวไปหมุนกลไกต่างๆ ให้นาฬิกาหมุน เป็นกลไกนาฬิกาแบบโบราณที่สุดแบบหนึ่ง
ปัจจุบัน นาฬิกาที่ใช้เครื่องแบบนี้ มีน้อยลง จะเหลือแต่ในนาฬิการาคาสูงๆ ไม่ก็ราคาถูกๆ ไปเลย (เช่นพวกนาฬิกาที่ทำจากรัสเซียหรือจีนแดงทั้งหลาย แต่คุณภาพก็ห่วยแตกตามราคา) แต่นาฬิกามียี่ห้อที่ใช้เครื่องแบบนี้มาผลิตนาฬิกา โดยมากราคาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าคลาสสิค และการปรับแต่งกลไกให้สามารถทำงานได้อย่างเที่ยงตรง เป็นเรื่องท้าทายทีเดียว โดยมากมักนิยมแกะสลักชิ้นส่วนเครื่องด้วยเพื่อเพิ่มคุณค่างานศิลป์
ข้อเสียนาฬิกาชนิดนี้ก็คือ ถ้าไม่ไขลาน มันก็หยุดเดิน (อันนี้ชัวร์) แต่ในนาฬิกาที่มีความซับซ้อนมากๆ พอหยุดเดินทีนี่การปรับตั้งต่างๆ วุ่นวายมาก คนที่ใช้นาฬิกากลุ่มนี้ จึงต้องเป็นพวก "บ้านาฬิกา" เข้าขั้นทีเดียว เอาว่าบางทีไม่ได้สวมใส่ แต่หยิบมาไขลานเล่นก็ยังดี
นาฬิการะบบออโตเมติค หรือ Automatic Winding หรือ Self-Winding
หมุนด้วยตัวเอง ซึ่งก็คือการหมุนขึ้นลานด้วยตัวมันเองนั่นแหละ เป็นการประยุกต์มาจากนาฬิกาไขลาน หรือ Manual Winding ที่ต้องใช้แรงมนุษย์หมุนขึ้นลาน แต่นาฬิกาชนิดนี้ ใช้แผ่นจานถ่วงน้ำหนัก หรือที่เรียกว่า Rotor มาไขลาน โดยอาศัยแรงเหวี่ยงของการเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่
พูดง่ายๆ ก็คือ เวลาคนเราเดิน หรือเคลื่อนไหว ก็มักจะมีการแกว่งข้อมือไปด้วย ซึ่งเจ้า Rotor นี้ ก็จะถูกถ่วงน้ำหนักให้หมุนตามแรงเหวี่ยงข้อมือที่ว่า ไปปั่นลานเก็บไว้ในตลับลาน ให้ลวดลานคลายตัวออกมาขับเคลื่อนกลไกในนาฬิกาอีกที ดังนั้น หากผู้สวมใส่ สวมนาฬิกาชนิดนี้ติดตัวไว้ตลอด นาฬิกาก็แทบจะมีลานหรือพลังงานสะสมอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่ต้องคอยไขลาน หรือแม้แต่ใช้พลังงานจากถ่าน หรือแสงอาทิตย์เหมือนนาฬิกา
นาฬิการะบบ Automatic Winding นี้ เรียกว่าเป็นชนกลุ่มใหญ่ในกลุ่มนาฬิกา mechanic
อาจจะมีคนสงสัยว่า นาฬิกาที่มีหน้าปัด 3 หน้าปัดคือระบบอะไร จริงแล้วมันเป็นแค่นาฬิกาที่เพิ่มฟังก์ชั่นการจับเวลาลงไปในนาฬิกาข้อมือ มันคือรุ่น โคโนกราฟ ข้อความในบทความนี้ส่วนใหญ่ผมก็หาความรู้มาจากอินเทอร์เน๊ตอาจจะไม่แม่นยำร้อยเปอร์เซนต์แต่คิดว่า คงเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจได้ไม่มากก็น้อย เผื่่อคนที่อยากจะไปเลื่อกซื้อนาฬิกาไว้ประดับร่างกายซักเรือน เวลาคน่ขายเขาอธิบายจะได้เข้าใจได้บ้าง ขอบคุณที่ติดตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น